เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week9

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๙ วันที่  ๕ – ๙  ตุลาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                         เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน สู่โรงนา / สรุปองค์ความรู้
สาระสำคัญ :
ในสังคมมีความหลากหลายทุกคนต่างพยายามทำหน้าที่ของตนเพื่อเป็นที่ยอมรับ เป็นหน้าที่ เป็นสิ่งที่ดีจึงทำ ฯลฯทุกคนล้วนปรับตัวและดำรงอยู่บนความแตกต่างหลากหลายนั้น
คำถาม :
หากนักเรียนเป็นผลิใบนักเรียนจะทำอย่างไร
เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่าน เข้าใจสามารถนำคำวิเศษณ์ คำตรงข้ามมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
week
Input
Process
Output
Outcome


๕ – ๙  ตุลาคม  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน สู่โรงนา
หลักภาษา:
- การแต่งประโยค
(ประโยคบอกเล่า  ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ประโยคำสั่ง)
- การแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คำถาม:
หากนักเรียนเป็นผลิใบนักเรียนจะทำอย่างไร

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-หนังสือ ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน สู่โรงนา
-ตัวอย่างหน้าที่ของประโยคต่างๆ


จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน/สลับอ่านออกเสียง
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง(ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
เชื่อม:
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน เชื่อมโยงสู่ตนเองและการนำไปปรับใช้  ได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องที่อ่าน
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงนำข้อคิด (คำสั้นๆ)มาแต่งประโยคสร้างสรรค์ใหม่จากคำที่ได้

พุธ
ชง :
-ครูให้นักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
เชื่อม :
-นักเรียนอ่านประโยคต่างๆที่ครูเขียนติดกระดาษ
 ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรจากประโยคเหล่านั้นบ้าง คิดอย่างไร”
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับการแยกและจัดหมวดหมู่ประโยคที่ทำหน้าที่ต่างๆว่าทำหน้าที่ใดบ้าง (แต่ละกลุ่มได้ประโยคที่แตกต่างกัน)

พฤหัสบดี
ชง:
- ครูเขียนคำศัพท์จากเรื่องสีเทาเจ้าตัวจิ๋วตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะนำคำศัพท์ไปแต่งประโยคต่างๆอย่างไรเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และร่วมเรียนรู้
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความของคำศัพท์ การนำคำศัพท์ไปใช้แต่งประโยคอย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์ที่สนใจ ๕ คำแต่งประโยค พร้อมตกแต่งผลงานอย่างเหมาะสม สร้างสรรค์


ศุกร์
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายให้นักเรียนดูคลิปวีดีโอ “การพูดสื่อสาร” สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ดู
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะรู้ได้อย่างไรว่า ผู้อื่นต้องการสื่อสารอะไรกับเราบ้าง” “นักเรียนจะสื่อสารผ่านการเขียนสรุปองค์ความรู้อย่างไร”
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
- นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้ตลอด Quarter ที่ผ่านมา

ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ศึกษาค้นคว้าหน้าที่ของประโยค
-วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่ประโยคที่ทำหน้าที่ต่างๆ
-นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้/ผลงาน

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ประโยคที่ทำหน้าที่ต่างๆ
-สรุปองค์ความรู้หลังเรียน


ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมมาใช้ในการแต่งเรื่องสร้างสรรค์ นำมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ




ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน



 

1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนรู้ใน Quarter 2 นักเรียนกระตือรือร้นและอยากสรุปสิ่งที่อยากเรียนรู้และอยากนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ นักเรียนสามารถนำสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์ไปใช้ในการเขียนบทละครของตนเองเพื่อเตรียมความพร้อมในการนำเสนอผลงานของตนเองได้ สามารถสรุปสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ผ่านการเขียนสรุปแผนภาพความคิด พี่ๆสามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ผ่านการแสดงละครบทบาทสมมุติ บอก เล่า อธิบายสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ได้ ทำงานเป็นกระบวนการกลุ่มทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่น

    ตอบลบ