เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week2

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๒  วันที่  ๑๗ - ๒๑ สิงหาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                         เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน โรงนา
เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนแต่งประโยค แต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์จากคำชนิดต่างๆ(คำกริยา สรรพนาม ลักษณะนาม) นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟัง เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

week
Input
Process
Output
Outcome


๑๗ - ๒๑ สิงหาคม  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
สีเทาตัวจิ๋ว ตอน โรงนา

คำถาม:
-ทำไมตัวละครในโรงนาจึงทำเช่นนั้นถ้าเป็นนักเรียน นักเรียนจะทำอย่างไร

หลักภาษา:
- ชนิดของคำ (คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม คำลักษณะนาม )

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-หนังสือ สีเทาตัวจิ๋ว ตอน โรงนา
-บัตรคำชนิดต่างๆ (คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม คำลักษณะนาม )


จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง(ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
เชื่อม:
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มวิเคราะห์เรื่องที่อ่าน เชื่อมโยงสู่ตนเองและการนำไปปรับใช้  ได้ข้อคิดอะไรจากเรื่องที่อ่าน
ใช้ :
นักเรียนแต่ละกลุ่มแสดงละครบทบาทสมมุติ สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน โรงนา ๓ ฉากจบ
พุธ
ชง :
ครูให้นักเรียนสังเกตศึกษาคำแต่ละชนิดจากบัตรคำ(คำจากเรื่องที่อ่าน/คำนาม คำกริยา คำสรรพนาม คำลักษณะนาม )
ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนจะช่วยจัดหมวดหมู่คำเหล่านี้อย่างไร”
เชื่อม :
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม สนทนาและเปลี่ยนเกี่ยวกับการแยกและจัดหมวดหมู่คำศัพท์ชนิดต่างๆจากบัตรคำที่ครูเตรียม
พฤหัสบดี
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์จากคำชนิดต่างๆแต่งประโยคสร้างสรรค์ ๑๐ ประโยค นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆร่วมชื่นชมว่ามีคำชนิดใดบ้าง
ศุกร์
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะสรุปสิ่งที่เรียนรู้ในสัปดาห์นี้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ผ่านผังความคิดอย่างไร (WEB)
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มเขียนสรุปคำศัพท์แต่ละชนิดผ่านผังความคิด(Web)
เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
นักเรียนเลือกสรุปคำชนิดต่างๆตามความสนใจ ทำโมบาย คำชนิดต่างๆ

ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ศึกษาค้นคว้าคำชนิดต่างๆจากเรื่องที่อ่าน
-วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ คำชนิดต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้ (เลือกตามความสนใจ)

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ประโยคสร้างสรรค์
- ผังความคิด (Web) ชนิดของคำ
-โมบายชนิดของคำ

ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนแต่งประโยค แต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์จากคำชนิดต่างๆ(คำกริยา สรรพนาม ลักษณะนาม) นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟัง เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้หลังจากที่อ่านวรรณกรรมแล้ว ชวนพี่ๆวิเคราะห์เหตุการณ์ของเรื่องที่อ่านในวันที่สอง(วันแรกเป็นพฤติกรรมสมอง)เพิ่มเติม เพราะตอนโรงนาเป็นตอนที่พี่ๆกระตือรือร้นและสนใจอยากรู้ว่ามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น "จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหากเราเป็นหูกาง ในสถานการณ์นั้นเราจะทำอย่างไร" โดยครูเล่าเหตุการณ์เด็กสามขวบที่พลัดหลงกับแม่ระหว่างเดินซื้อของ พี่ๆสามารถเทียบเคียงเหตุการณ์ที่ครูเล่ากบเรื่องที่อ่าน(โรงนา) ได้ว่าน่าจะเป็นเหตุการณ์ใด เพราะเหตุใดจึงคิดเช่นนั้น หลังจากที่แลกเปลี่ยนวิเคราะห์หลายๆเหตุการณ์แล้ว พี่ๆหลายคนยังสนุกและชื่นชอบตัวละครในเรื่องมาก (หูกาง ป้าวัว สีเทา) มีลูกวัวที่โรงเรียนเกิดใหม่๒ตัวพี่ๆเรียกทั้งสองว่าหูกางกับสีเทา และแม่คือป้าวัว
    หลักภาษาเป็นเรื่องชนิดของคำ(คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำลักษณะนาม) พี่ๆสามารถวิเคราะห์จัดหมวดหมู่ของคำชนิดต่างๆได้ดี เข้าใจว่าคำนาม คำกริยา สรรนาม และลักษณะนามคืออะไร ใช้สื่อสารอย่างไร เช่น ลักษณะนาม พี่ๆอธิบายว่า “เป็นคำที่เป็นรูปร่างของสิ่งของ หรือสิ่งต่างๆเช่น ต้น เล่ม ตัว ฯลฯ พี่ๆมีความกระตือรือร้นและสนใจกระบวนการเรียนรู้ผ่านการแลกเปลี่ยนและทำงานกลุ่ม พี่ๆสามารถนำคำศัพท์ชนิดต่างๆมาใช้ในการแต่งประโยคสร้างสรรค์ สามารถค้นคว้าคำชนิดต่างๆเพิ่มเติมนอกเหนือจากเรื่องที่อ่านได้ โดยส่วนใหญ่พี่ๆขอค้นคำต่างๆจากหนังสือ ทั้งหนังสือนิทานและหนังสือวรรณกรรมเรื่องอื่นๆ ***สัปดาห์นี้พี่ๆไม่ได้สรุปเรื่องผ่านละครบทบาทสมมุติตามที่วางแผนขั้นใช้วันอังคาร เพราะใช้เวลาวิเคราะห์และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับวรรณกรรมนานกว่าเวลาที่กำหนด

    ตอบลบ