เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week1

หน่วยการเรียนรู้ 
สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง
เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนแต่งประโยค แต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์จากคำในมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้

Week

Input
Process
Output
Outcome







10-14
ส.ค.
2558
โจทย์ : วรรณกรรมเรื่อง
สีเทาตัวจิ๋ว
ตอน ป้าวัวกับหูกาง
คำถาม: 
-ถ้านักเรียนเป็นป้าวัวกับหูกาง นักเรียนจะทำอย่างไร เพราะเหตุใดจึงทำเช่นนั้น

-นักเรียนจำนำการฟัง พูด อ่าน เขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราไปใช้อย่างไร 
หลักภาษา
- ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- การแต่งประโยค
- การแต่งเรื่องสร้างสรรค์
ครื่องมือคิด
-Blackboard Share คำศัพท์มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
-Round Robin เรื่องที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมและตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
-Wall thinking ผลงาน
-Show & Share นิทานคำศัพท์มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- พฤติกรรมสมอง
สื่อ และแหล่งเรียนรู้
-วรรณกรรมสีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน ป้าวัวกับหูกาง
-บัตรคำมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
-ห้องสมุด
จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
วาดภาพประกอบเรื่องย่อใหม่ นำเสนอผลงาน และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ศึกษาค้นคว้าคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา

ชิ้นงาน:
- วาดภาพประกอบเรื่องย่อใหม่
- ประโยคจากคำศัพท์ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
- นิทานตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผลสามารถอ่านและเขียนแต่งประโยค แต่งเรื่องได้อย่างสร้างสรรค์จากคำในมาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตรา นำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างสร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียน บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ



อังคาร
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านผ่านมา ครูตั้งคำถามกระต้นการคิด “ถ้าเกิดเหตุการณ์นี้กับเราบ้าง นักเรียนคิดว่าแม่ของเราจะทำอย่างไร และแม่ของสีเทาจะทำอย่างไร”
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมที่อยากทำในวันแม่ ผ่านการวิเคราะห์เชื่อมโยงเรื่องที่อ่านสู่วันแม่
ใช้:
นักเรียนเขียนเรื่องราวหรือเรียงความของแม่พร้อมวาดภาพสื่อความหมาย
พฤหัสบดี
ชง:
- ครูติดบัตรคำตัวสะกดไม่ตรงมาตราบนกระดาน แล้วตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนเห็นอะไรบนกระดาน มีคำใดอีกบ้างจากเรื่องที่อ่าน ที่มีลักษณะเหมือนกับคำเหล่านี้”
- ศึกษาเกี่ยวกับตัวสะกดไม่ตรงมาตราเพิ่มเติม จากหนังสือนิทาน สอบถาม ค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต หรือสื่ออื่นๆ
เชื่อม:
นักเรียนนำเสนอคำศัพท์มาตราตัวสะกดไม่ตรงมาตราเพิ่มเติม จากเรื่องที่อ่าน พร้อมวาดภาพสื่อความหมายของคำ
ใช้:
- นักเรียนเลือกคำศัพท์จากตัวสะกดไม่ตรงมาตราแล้วแล้วเขียนแต่งประโยคสร้างสรรค์ ๕ ประโยคพร้อมวาดภาพประกอบ
- นำเสนอผลงานและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

ศุกร์
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงานนักเรียนที่ยังไม่ได้นำเสนอ (แต่ง ประโยค)
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา
ใช้:
นักเรียนแต่งเรื่องนิทานตัวสะกดไม่ตรงมาตราโดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับมิตรภาพ และความปรารถนาดีต่อกัน


























































































ตัวอย่างชิ้นงานและกิจกรรม







































1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ ทุกคนสนใจและอยากรู้ว่าสีเทาเป็นใคร พี่ภูมิ:เป็นพี่ค้างคาว, พี่เมฆ : สีเทาน่าเป็นนก ,พี่อิม : สีเทาน่าจะเป็นวัว. พี่อองฟรอง : สีเทาน่าจะเป็นแมงมุม เมื่ออ่านวรรณกรรมแล้วนักเรียนสามารถแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน (พฤติกรรมสมอง) นักเรียนสามารถอ่านและสรุปเรื่องย่อนำเสนอเรื่องที่อ่านผ่านการเขียนการเล่าให้ฟังได้ มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม สามารถเสนอคำศัพท์มาตราตัวสะกดตรงและไม่ตรงมาตราได้หลากหลายคำ สามารถแยกมาตราผ่านการสะกดอ่านและนำไปใช้ในการสื่อความหมายผ่านการเขียนแต่งประโยคได้อย่างสร้างสรรค์

    ตอบลบ