เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week8

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                                ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๘  วันที่  ๒๘ กันยายน – ๒ สิงหาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                                เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน โผบินจากกรง
สาระสำคัญ:
ชีวิตของเราไม่ได้ราบรื่นหรือมีความสุขตลอดเวลา แต่ความทุกข์ความยาก หรือปัญหาก็เป็นโอกาสให้เราได้พบกัลยาณมิตร มิตรภาพที่ได้จากเพื่อน เพื่อนที่ไม่ได้แยกเธอ ฉัน แต่เป็นเราและมอบความปรารถนาดีต่อกัน
คำถาม:
จะเป็นอย่างไรถ้าในเรื่อง ไม่มีตัวละคร ที่ชื่อรั้งท้าย/ถ้านักเรียนเป็นรั้งท้ายนักเรียนจะทำอย่างไร
เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
Week

Input
Process
Output
Outcome







๒๘ กันยายน –
 ๒ สิงหาคม  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน โผบินจากกรง
หลักภาษา
- คำพ้องรูปพ้องเสียง
- การเขียนคำอ่าน
- การแต่งประโยค
- การแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คำถาม:
-จะเป็นอย่างไรถ้าในเรื่อง ไม่มีตัวละคร ที่ชื่อรั้งท้าย/ถ้านักเรียนเป็นรั้งท้ายนักเรียนจะทำอย่างไร
 เครื่องมือคิด
- Round Robin แลกเปลี่ยนการสื่อความคำพ้องรูปพ้องเสียง
- Placemat ความหมาย การใช้คำพ้องรูปพ้องเสียง
- Wall thinking ผลงานคำพ้องรูปพ้องเสียง คำศัพท์พ้องรูปพ้องเสียง
- Show & Share ผลงานเรื่องแต่งคำพ้องรูปพ้องเสียง
-Blackboard Share คำศัพท์จากเรื่องที่อ่าน/คำพ้องรูปพ้องเสียง

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- หนังฝันติดปีกของผลิใบ ตอน โผบินจากกรง
-บัตรคำพ้องรูปพ้องเสียง

จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน/สลับอ่านออกเสียง
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
 อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
-นักเรียนเขียนคำศัพท์ตามคำบอก (ให้มีคำพ้องรูปพ้องเสียงด้วย)
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความรวมทั้งการนำคำศัพท์ไปใช้อย่างเหมาะสม

ใช้ :
นักเรียนเขียนแต่งประโยคจากคำศัพท์ โดยเลือกคำที่สนใจ ๕ คำ
วันพุธ
ชง:
-ครูติดบัตรคำ คำศัพท์พ้องรูปพ้องเสียงบนกระดาน (บิน บิล บิณฑ์ ) นักเรียนเห็นอะไร มีคำใดอีกบ้างที่มีลักษณะที่คล้ายหรือเหมือนกับคำบนกระดาน นักเรียนช่วยกันเสนอแนะ เขียนคำศัพท์วาดภาพประกอบ
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕-๖ คน ครูแจกบัตรคำพ้องรูปพ้องเสียงให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่คำศัพท์
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่คำศัพท์ที่ได้ เพราะเหตุใดจึงจัดหมวดหมู่เช่นนั้น
ใช้:
-นักเรียนเลือกคำพ้องรูป พ้องเสียง ๑๐ คำเขียนแต่งการ์ตูนช่อง๓ช่องจบ  (เลือกตามความสนใจ /ต่อการทำงานเป็นการบ้าน)
วันพฤหัสบดี
ชง :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด " นอกจากคำพ้องรูปพ้องเสียงที่นักเรียนช่วยกันจัดหมวดหมู่แล้ว ยังมีคำพ้องรูปพ้องเสียงคำใดอีกบ้าง คำเหล่านั้นสื่อสารอะไร นักเรียนศึกษาคำพ้องรูปพ้องเสียงเพิ่มเติม
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำพ้องรูปพ้องเสียง(คำศัพท์ใหม่) เกี่ยวกับการสื่อความและการนำไปใช้
ใช้ :
นักเรียนนำคำพ้องรูปพ้องเสียงมาใช้ในการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ


ศุกร์
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา (คำพ้องรูปพ้องเสียง)
ใช้:
นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้ตามความสนใจ เขียนบรรยาย นิทาน เรื่องแต่งสร้างสรรค์ ฯลฯ

ภาระงาน:
- อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
- ศึกษาค้นคว้าคำพ้องรูปพ้องเสียง จากเรื่องที่อ่านและแหล่งเรียนรู้อื่น วาดภาพประกอบคำศัพท์คำพ้องรูปพ้องเสียง
- ศึกษาคำพ้องรูปพ้องเสียงเพิ่มเติม นำคำพ้องรูปพ้องเสียงมาใช้ในการเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ประโยคสร้างสรรค์จากคำพ้องรูปพ้องเสียง
- เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ


ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำพ้องรูป พ้องเสียงมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำศัพท์และเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายและการสื่อความคำพ้องรูปพ้องเสียง
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน











1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆอ่านเรื่องโผบินจากกรง ซึ่งเป็นเรื่องราวของงแม่ไก่ผลิใบที่อยากออกไปนอกกรงและกกไข่ มีลูกเจี๊ยบเป็นของตนเอง เป้าหมายและความคาดหวังไม่ใช่เรื่องง่ายต้องเผชิญกับปัญหามากมาย แต่โชคดีที่ผลิใบได้พบเพื่อนที่ปรารถนาดีและช่วยเหลือเธอ ...พี่ๆป.๒รู้จักตัวละครจากเรื่องนี้ว่าผู้ที่มาช่วยผลิใบเป็นใคร “ครูครับผมจำได้ว่าเป็นรั้งท้ายครับ ที่ครูเคยเล่าให้ฟังแล้วไงครับ” “ถ้าไม่มีรั้งท้ายผลิใบต้องถูกพังพอนกินเป็นอาหารแน่ๆ” “รั้งท้ายเป็นเป็ดป่า ไม่ใช่เป็ดก้าบครับ” พี่ๆอ่านเรื่องแล้วสามารถสรุปเรื่องราวที่อ่าน บอกข้อคิดและวิเคราะห์เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในเรื่องได้ เช่น “ถ้าถ้าผลิใบยอมกินอาหารผลิใบก็จะไม่ได้ออกจากกรงเพราะผลิใบจะแข็งแรงและชาวนาจะไม่จับผลิใบไปฝัง” “ผลิใบไม่รู้ความจริงว่าไข่ของผลิใบฟักเป็นตัวไม่ได้ ถ้าผลิใบรู้ผลิใบก็ไม่ต้องเสียใจ” หลังจากวิเคราะห์และสรุปเรื่องที่อ่านแล้วพี่ๆวาดภาพประกอบและสรุปเรื่องย่อ พี่ๆสามารถอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
    หลักภาษาสัปดาห์นี้เป็นเรื่องคำพ้องรูปพ้องเสียง ครูเริ่มต้นตากการเขียนคำศัพท์ตามคำบอกจากเรื่องที่อ่าน นำคำศัพท์มาเขียนคำพ้องรูป พ้องเสียง พี่ๆตื่นเต้นที่ได้รู้ว่าคำที่เขียนสามารถออกเสียงได้เหมือนกันหลายคำแต่เขียนไม่เหมือนกัน และความหมายก็ต่างกันด้วย พี่ๆสามารถเสนอคำศัพท์เพิ่มเติมได้หลากหลายคำ สนใจและกระตือรือร้นที่จะช่วยกันหาคำศัพท์เพิ่มเติมว่ามีคำใดอีกบ้าง ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด “พี่ๆคิดว่าคำเหล่านี้เรียกว่าอะไรคะ” พี่ๆหลายคนบอกว่าเป็นคำพ้องรูปพ้องเสียง ครูจึงถามต่อว่า จากที่เห็นคำเหล่านี้ พ้อง น่าจะสื่อความหมายอย่างไร พี่ๆบอกว่า “น่าจะเหมือนนะครู” เช่นเสียงเหมือนกัน เขียนเหมือนกัน... พี่ๆสามารถสื่อความหมายของคำผ่านการวาดภาพประกอบ การเขียนแต่งประโยคสร้างสรรค์ได้ อย่างเหมาะสม

    ตอบลบ