เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week4

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๔  วันที่   ๓๑ สิงหาคม -๔ กันยายน  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                         เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
ลาแสนรู้ ตอน ตลาด
สาระสำคัญ:
ปัญหา และอุปสรรคเป็นบทเรียนให้เราได้เข้มแข็ง เรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาและสร้างทางเลือกที่เหมาะสมให้กับตนเองเพื่อแก้ปัญหานั้น
คำถาม:
ทำไมกาดิชงจึงเลือกหนีไปจากตลาดและเจ้านายของเขา หรือถ้าเลือกที่จะอยู่กับเจ้านายเดิมกาดิชงจะเป็นอย่างไร
เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำที่มีอักษรนำมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
week
Input
Process
Output
Outcome






๓๑ สิงหาคม
๔ กันยายน  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
ลาแสนรู้ ตอน ตลาด
หลักภาษา:
-อักษรนำ
- การแต่งประโยคจากคำอักษรนำ
(ประโยคบอกเล่า  ประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ประโยคคำสั่ง)
คำถาม:
- ทำไมกาดิชงจึงเลือกหนีไปจากตลาดและเจ้านายของเขา หรือถ้าเลือกที่จะอยู่กับเจ้านายเดิมกาดิชงจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไรต่อคำศัพท์บนกระดาน มีคำใดอีกบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นคำที่เหมือนกับคำบนกระดาน เพราะเหตุใดจึงเหมือนกัน
- นักเรียนจะนำคำศัพท์ไปแต่งประโยคต่างๆเพื่อสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และร่วมเรียนรู้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Card & Chart คำศัพท์อักษรนำ
- Round Robin ลักษณะและการใช้คำอักษรนำ (อ  นำ , ห นำ , อักษรสูง อักษรกลางนำ)
- Brain Storm การจัดหมวดหมู่อักษรนำ (อ นำ ห นำ อักษรสูง กลางนำ)
- Wall thinking ผลงานอักษรนำ
- Show & Share ผลงานชาร์ตอักษรนำ
-Blackboard Share คำศัพท์คำอักษรนำ

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- หนังสือ ลาแสนรู้ ตอน ตลาด
- ตัวอย่างคำอักษรนำ


จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน/สลับอ่านออกเสียง
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
- อ่านคำศัพท์บนกระดาน (อย่า อยู่ อย่าง อยาก หย่า หยากไย่ หญ้า หญิง ขนม สนาม กนก ตลก ตลาด)
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์บนกระดาน “นักเรียนสังเกตเห็นอะไร คิดอย่างไรต่อคำศัพท์บนกระดาน มีคำใดอีกบ้างที่นักเรียนคิดว่าเป็นคำที่เหมือนกับคำบนกระดาน เพราะเหตุใดจึงเหมือนกัน”
ใช้ :
นักเรียนนำคำบนกระดานเขียนแจกคำอ่าน (ขนม อ่านว่า ขะ – หนม)
พุธ
ชง :
- ครูให้นักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยนักเรียนอ่านทวนคำศัพท์พร้อมๆกัน แลกเปลี่ยนการสื่อความหมายอีกครั้งหนึ่ง
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มค้นหาคำอักษรนำจากหนังสือที่อ่าน และหนังสืออื่นๆเพิ่มเติม
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการอ่าน การเขียน การสื่อความคำอักษรนำที่ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม พร้อมทั้งเสนอแนะการนำไปใช้อย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนนำคำอักษรนำมาใช้แต่งประโยค ๕ ประโยค พร้อมวาดสื่อความหมาย
การบ้าน : เลือกคำอักษรนำที่สนใจ๕คำแต่งเรื่องราวพร้อมวาดภาพประกอบ
พฤหัสบดี
ชง:
- ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย ชื่นชมผลงาน (การบ้าน)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสื่อสาร แลกเปลี่ยนคำอักษรนำให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
-นักเรียนศึกษาคำอักษรนำเพิ่มเติม วิเคราะห์จัดหมวดหมู่คำ (อ นำ ห นำ อักษรสูง กลางนำ)
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำเสนอของแต่ละกลุ่ม ครูและเพื่อนเสนอแนะตามความเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มทำชาร์ตความรู้คำอักษรนำ
ศุกร์
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะนำคำอักษรนำไปใช้ในการสื่อสารอย่างไร
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา (คำอักษรนำ)
ใช้:
- นักเรียนสรุปการ์ตูนช่องคำอักษรนำ (ส่งวันจันทร์ สัปดาห์ที่ ๕)
ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ศึกษาค้นคว้าคำศัพท์จากวรรณกรรมที่อ่าน
-วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่อักษรนำ
-นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้/ผลงาน

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ชาร์ตคำอักษรนำ
- การ์ตูนช่องคำอักษรนำ


ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำที่มีอักษรนำมาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่คำอักษรนำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้

ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นเข้าใจได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน





1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้ครูให้พี่ๆนำหนังสือกลับไปอ่านที่บ้านกับผู้ปกครองแล้วกลับมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในชั้น พี่ๆส่วนหนึ่งอ่าน(ส่วนใหญ่)แต่บางคนยังไม่ได้อ่าน ครูจึงชวนพี่ๆที่อ่านทบทวนและแลกเปลี่ยน ให้พี่ๆที่ยังไม่ได้อ่านได้ร่วมฟังด้วยพี่ ๆสามารถเล่าสรุปเรื่องที่อ่านให้ครูและเพื่อนๆฟังได้ บอกสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ เช่น ถ้าเราโกรธเราก็ไม่ควรทำร้ายผู้อื่น ,เราควรทำร้ายคนอื่น ,เราไม่ควรไปกินของของคนอื่น ถ้าเราหิวเราก็ต้องอดทน ฯลฯ “ถ้าพี่เป็นกาดิชงตอนนั้นพี่ๆจะทำอย่างไร” พี่เซน : ผมจะไม่ไปกินผักของหญิงชราแต่จะอดทนแล้วแก้เชือกออกไปหากินหญ้าแทน ,พี่ออมสิน : ผมจะกัดเชือกจนขาดแล้วหนีไปที่อื่นไปหาหญ้ากิน ไม่กินผักของหญิงชรา ...”แล้วถ้าพี่ๆเป็นหญิงชราล่ะ พี่ๆจะทำอย่างไร” ผมจะดูแลพี่ลาให้พี่ลากินน้ำ กินหญ้า พี่ลาจะได้มีแรงแบกของ หนูจะช่วยลาขนของด้วย ให้ลาขนของไม่หนัก ,ผมจะไม่ตีพี่ลาเพราะพี่ลาหิวพี่ลาเลยอดไม่ไหว แล้วผมก็จะให้พี่ลากินอาหารพี่ลาจะได้ไม่หิว เป็นต้น หลังจากทีแลกเปลี่ยนกันแล้วจึงให้พี่ๆที่ยังไม่ได้อ่านหนังสืออ่านหนังสือก่อนที่จะทำงานสรุปเรื่องย่อ
    หลักภาษาเป็นคำอักษรนำพี่ๆสามารถแยกแยะ จัดหมวดหมู่และอ่านออกเสียงคำที่เป็นอักษรนำได้ สามารุนำคำอักษรนำมาใช้ในการแจกคำอ่าน แต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์ได้ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด ชอบฟังเรื่องเล่าและกระตือรือร้นอยากเรียนรู้ ทำงานร่วมกันเป็นกระบวนการกลุ่มได้

    ตอบลบ