เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week3

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                        ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๓  วันที่  ๒๔ - ๒๙ สิงหาคม  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                         เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง

สาระสำคัญ
ในสังคมและการอยู่ร่วมกันที่มีความหลากหลายบนความต่างนั้นทุกคนมีหน้าที่และวิถีการดำเนินชีวิตและการดำรงอยู่แตกต่างกัน เราควรค้นหาตนเองให้พบและเรียนรู้พัฒนาตนเองอยู่เสมอ

คำถาม
เพราะเหตุใดป้าวัวจึงพาสีเทาไปที่โรงนา ถ้าสีเทาไม่ได้ไปที่โรงนาจะเป็นอย่างไร

เป้าหมายรายสัปดาห์
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำการันต์ มาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
week
Input
Process
Output
Outcome


๒๔
-
 ๒๙ สิงหาคม  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
สีเทาเจ้าตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง
หลักภาษา:
คำการันต์ และการนำไปใช้
คำถาม:
- เพราะเหตุใดป้าวัวจึงพาสีเทาไปที่โรงนา ถ้าสีเทาไม่ได้ไปที่โรงนาจะเป็นอย่างไร
- นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง (การอ่าน การเขียน การใช้คำการันต์)
เครื่องมือคิด
- Round Robin สิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคำการันต์ และวรรณกรรมที่อ่าน
- Brain Storm คำศัพท์คำการันต์
- Wall thinking ชิ้นงาน บัตรคำการันต์
- Show & Share ผลงานคำการันต์
-Blackboard Share คำการันต์
- คำถามกระตุ้นคิด

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
-หนังสือ สีเทาตัวจิ๋ว ตอน บึงใหญ่กลางทุ่ง
-ตัวอย่างคำศัพท์ คำ
การันต์
-คลิปนิทานตัวการันต์



จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
- เขียนคำศัพท์ตามคำบอก
เชื่อม:
สนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ที่เขียนตามคำบอก พร้อมแลกเปลี่ยนการสื่อความและการนำไปใช้
ใช้ :
นักเรียนนำคำที่เขียนคำศัพท์ตามคำบอก ๕ คำแต่งเรื่องสร้างสรรค์พร้อมวาดภาพประกอบ
พุธ
ชง :
ครูให้นักเรียนดูคลิปการ์ตูน ตัวการันต์ สังเกตศึกษาคำศัพท์คำการันต์ ตั้งคำถามกระตุ้นคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง” โดยครูเขียนคำศัพท์นั้นบนกระดาน
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนคำศัพท์ คำการันต์บนกระดาน พร้อมทั้งเสนอแนะคำศัพท์ที่รู้จักเพิ่มเติม
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์คำการันต์ ๔คำไม่ซ้ำกัน เขียนบัตรคำพร้อมวาดภาพสื่อความหมาย
พฤหัสบดี
ชง:
 ครูและนักเรียนสนทนาทักทาย นักเรียนนำเสนอผลงานบัตรคำการันต์ (คนที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
 เชื่อม:
นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคำการันต์ “นักเรียนเห็นอะไรจากคำศัพท์บนกระดาน” คำที่ใช้การันต์และคำที่ไม่ใช้ (การณ์ /การณ, พันธุ / พันธุ์ , ศิลปะ/ศิลป์)
ใช้:
นักเรียนเลือกคำศัพท์คำการันต์ที่สนใจ ๑๐ คำแต่งเรื่องราวพร้อมทั้งวาดภาพประกอบให้สวยงาม
ศุกร์
ชง:
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างในสัปดาห์นี้ นักเรียนจะนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้เกี่ยวกับคำการันต์และเรื่องที่อ่านไปใช้ในการแต่งเรื่องราวสร้างสรรค์อย่างไร”
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา พร้อมทั้งเสนอแนะการนำคำการันต์ไปใช้ในการอ่านอย่างเหมาะสม
ใช้:
นักเรียนเขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์ตามจินตนาการ โดยใช้คำการันต์กับคำศัพท์อื่นๆตามความสนใจพร้อมวาดภาพประกอบเรื่องราว

ภาระงาน:
-อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
-ศึกษาค้นคว้าคำการันต์จากเรื่องที่อ่าน
-วิเคราะห์ สังเคราะห์ จัดหมวดหมู่คำศัพท์ คำชนิดต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้ (เลือกตามความสนใจ)

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ประโยคสร้างสรรค์
- บัตรคำ
 -เรื่องสร้างสรรค์จากคำการันต์

ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถนำคำการันต์ มาใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และสื่อความหมายบัตรคำและเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้
ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน









1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้สามารถอ่านและสรุปเรื่องราวที่อ่านให้ผู้อื่นเข้าใจได้ เทียบเคียงเรื่องที่อ่านกับตนเองได้ เช่น เหตุการณ์ที่ปลาเสือตอพ่นน้ำใส่สีเทา ถ้าเป็นชีวิตเราน่าจะเป็นเหตุการณ์ใดได้บ้าง พี่โชค : เหมือนตอนที่เราดำน้ำ เราก็หายใจในน้ำไม่ได้ ,พี่ออมสิน : ถ้าเราไม่ใช่สัตว์น้ำ หรือตอนที่เราเป็นเด็กเราก็ว่ายน้ำไม่ได้เหมือนพี่สีเทาที่ยังเด็กบินไม่ได้ ฯลฯ “พี่ๆได้เรียนรู้อะไรจากตอนบึงใหญ่กลางทุ่ง” พี่โซ่ : เราควรมีน้ำใจต่อผู้อื่น , พี่ภูมิ : เราไม่ควรรังแกผู้อื่น , พี่หยิน : เราต้องรู้ตัวว่าเราเป็นใคร ถ้าเราไม่รู้ตัวเวลาทำอะไรเราก็จะทำไม่ได้ ฯลฯ
    หลักภาษาสัปดาห์นี้ครูเชื่อมโยงคำศัพท์จากเรื่องที่อ่านมาให้นักเรียนเรียนรู้ผ่านการสังเกต วิเคราะห์ “พี่ๆเห็นอะไรบ้างจากคำศัพท์บันกระดาน” นักเรียนสามารถอธิบายได้ว่าเป็นคำที่มีการันต์ และวิเคราะห์ต่อได้ว่าคำที่ครูให้สังเกต(คำที่มีการันต์และไม่มีการันต์) นั้นอ่านไม่เหมือนกัน เช่น พี่เมฆ : คำแรกอ่านว่าการณ์ และคำนั้นอ่านว่า กา-รณใช่ไหมครู , พี่อองฟรอง : คำนั้นอ่านว่าศิลป์ แต่คำนั้นอ่านว่า ศิลปะ ....แสดงว่าตัวการันต์น่าจะทำหน้าที่อย่างไรคะ... พี่ใบตอง : ทำให้ไม่ออกเสียงสระอะ ,พี่เมฆ พี่ออมสิน พี่หยิน : ทำให้ไม่ออกเสียงตัวนั้นค่ะ/ครับ
    นักเรียนสามารถอ่าน เสนอแนะคำการันต์ที่รู้จักเพิ่มเติม สามารถนำคำการันต์มาใช้ในการแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์ได้ ***พี่ๆไม่ได้ดูคลิปการ์ตูน “ตัวการันต์” เพราะเวลาในการทำกิจกรรมไม่พอ และพี่ๆเข้าใจว่าคำที่มีการันต์กับไม่มีการันต์ต่างกันอย่างไรจึงยกเลิกกิจกรรมนี้ไปก่อน และครูจะหาเวลาว่างให้พี่ๆได้เรียนรู้เพิ่มเติม

    ตอบลบ