เป้าหมาย : นักเรียนสามารถอ่านและวิเคราะห์เรื่องราวทั้งจากบทร้อยแก้วและร้อยกรองได้ เข้าใจความหมาย จับใจความสำคัญและถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล มีนิสัยรักการอ่าน ตระหนักและเห็นความสำคัญของเรื่องที่อ่าน สามารถบอกข้อคิดของเรื่องและนำมาใช้ในชีวิตได้ มีมารยาทในการอ่าน การฟัง การพูด การเขียนที่เหมาะสม สามารถสรุปองค์ความรู้และเชื่อมโยงหลักภาษาเพื่อนำมาปรับใช้ในชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์และเหมาะสม

Week7

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย
ภาคเรียนที่  ๑  Quarter   ปีการศึกษา ๒๕๕๘                                                                                                                                                ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
สัปดาห์ที่  ๗  วันที่  ๒๑ – ๒๕  กันยายน  ๒๕๕๘
หน่วยการเรียนรู้ : วรรณกรรมเยาวชน                                                                                                                                                                เวลาเรียน ๕  คาบ  ( ๑ ชั่วโมง / คาบ)

.....................................................................................................................................................................................................................................................
หน่วยการเรียนรู้ 
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน อย่าหวังว่าฉันจะไข่อีกแม่แต่ฟองเดียว
สาระสำคัญ:
เราดำรงอยู่บนความหลากหลาย ทุกสรรพสิ่งล้วนทำหน้าที่ของตนเอง เราควรดำรงชีวิตอย่างมีคุณค่า มีเจตจำนงและเป้าหมายที่ดีงามทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

คำถาม:
เพราะเหตุใดผลิใบจึงไม่อยากไข่อีก ผลิใบทำอย่างไร

เป้าหมายรายสัปดาห์

นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมมาถ่ายทดผ่านละครบทบาทสมมุติเพื่อใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
week
Input
Process
Output
Outcome






๒๑ – ๒๕  กันยายน  ๒๕๕๘
โจทย์:
วรรณกรรมเรื่อง
ฝันติดปีกของผลิใบ ตอน อย่าหวังว่าฉันจะไข่อีกแม่แต่ฟองเดียว
หลักภาษา:
- การแสดงละคร  บทบาทสมมุติ
- เขียนแต่งเรื่องสร้างสรรค์
คำถาม:
- เพราะเหตุใดผลิใบจึงไม่อยากไข่อีก ผลิใบทำอย่างไร
- นอกเหนือจากการเขียนแต่งประโยค แต่งเรื่องสร้างสรรค์แล้ว นักเรียนจะสื่อสารผ่านการแสดงบทบาทสมมุติให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
 เครื่องมือคิด
- Round Robin การเขียนบทและการแสดงละครบทบาทสมมุติ
- Placemat การแสดงละครบทบาทสมมุติ
- Wall thinking ผลงาน และบทละครสร้างสรรค์
- Show & Share ผลงานฉากที่ประทับใจ
-Blackboard Share คำศัพท์จากเรื่องที่อ่าน

สื่อและแหล่งเรียนรู้:
- หนังฝันติดปีกของผลิใบ ตอน อย่าหวังว่าฉันจะไข่อีกแม่แต่ฟองเดียว
- ตัวอย่างละครหน้าขาว ละครหุ่นนิ้ว หุ่นมือ
- คลิปละครเวที ละครบทบาทสมมุติ


จันทร์
ชง:
อ่านวรรณกรรมโดยการอ่านออกเสียงพร้อมๆกัน/สลับอ่านออกเสียง
เชื่อม:
ครูตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านโดยให้สอดรับกับพฤติกรรมสมอง ดังนี้
จำ : ให้นักเรียนเรียงลำดับเหตุการณ์ของเรื่อง,บอกชื่อตัวละคร,ฉาก
เข้าใจ : นักเรียนช่วยกันสรุปเนื้อเรื่องหรือข้อคิดที่ได้จากเรื่อง
วิเคราะห์/สังเคราะห์: นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์/สังเคราะห์เหตุการณ์  ลักษณะนิสัยของตัวละครแต่ละตัว ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
นำไปใช้ : นักเรียนช่วยกันสรุปเหตุการณ์เทียบเคียงกับชีวิตจริงนักเรียนจะสามารถนำไปปรับใช้กับตนเองอย่างไร
ประเมินค่า:นักเรียนคิดว่า การกระทำของตัวละครเหมาะสมหรือไม่  เหตุการณ์ต่อไปจะเป็นอย่างไร
สร้างสรรค์ : ให้นักเรียนเขียนสรุปเรื่องลำดับเหตุการณ์ของเรื่องโดยออกแบบภาพประกอบและแต่งตอนจบใหม่
ใช้:
สรุปแผนภาพโครงเรื่องวาดภาพประกอบ และสรุปเรื่องที่ได้เรียนรู้ในวันนี้
อังคาร
ชง:
- สนทนาทักทายและทบทวนเรื่องที่อ่านเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ชื่นชมผลงานแผนภาพโครงเรื่อง (ที่ยังไม่ได้นำเสนอ)
- นักเรียนจะสื่อสารเรื่องที่อ่านผ่านการแสดงบทบาทสมมุติอย่างไร
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการแสดงบทบาทสมมุติ จากเรื่องที่อ่าน แลกเปลี่ยนและเกี่ยวกับลักษณะของตัวละครแต่ละตัวว่ามีลักษณะพิเศษ หรือลักษณะเฉพาะอย่างไร
ใช้ :
นักเรียนแสดงบทบาทสมมุติ จากเรื่องที่อ่าน อย่าหวังว่าฉันจะไข่อีกแม่แต่ฟองเดียว เป็นภาพนิ่ง โดยใช้เหตุการณ์สำคัญในเรื่องสามเหตุการณ์
พุธ
ชง :
- ครูให้นักเรียนสนทนาทักทาย ทบทวนเรื่องที่เรียนรู้เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (ละครบทบาทสมมุติ)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นคิด นักเรียนจะนำเสนอเรื่องราวผ่านการแสดงบทบาทสมมุติอย่างไร
-นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม กลุ่มละเท่าๆกันแต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกเรื่องที่ใช้สำหรับการแสดงละครบทบาทสมมุติ
เชื่อม:
นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับละครบทบาทสมมุติ การวางแผนการแสดงละครบทบาทสมมุติตัวละครมีใครบ้าง แต่ละตัวมีลักษณะอย่างไร
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมและนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
พฤหัสบดี
ชง:
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มกลุ่มละเท่าๆกัน แต่ละกลุ่มจับฉลากคำต่างๆเพื่อใช้ในการเขียนบทละคร(เด็กดี  เพื่อน ใจดี  อยู่ร่วมกัน  ซื่อสัตย์)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนจะสื่อสารเกี่ยวกับที่ได้ผ่านละครบทบาทสมมุติให้ผู้อื่นเข้าใจได้อย่างไร
เชื่อม :
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสื่อความของคำศัพท์และการเขียนบทเพื่อสื่อความหมายถึงคำที่จับฉลากได้
ใช้:
นักเรียนแต่ละกลุ่มซ้อมบทละครและนำเสนอละครบทบาทสมมุติ
ศุกร์
ชง:
ครูและนักเรียนสนทนาทักทายทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เชื่อม:
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทบทวนแลกเปลี่ยน สิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรม และหลักภาษา (บทบาทสมมุติ การเขียนสร้างสรรค์)
ใช้:
นักเรียนสรุปสิ่งที่เรียนรู้ตามความสนใจ เขียนบรรยาย นิทาน เรื่องแต่งสร้างสรรค์ ฯลฯ
ภาระงาน:
- อ่านวิเคราะห์วรรณกรรม เชื่อมโยงสู่การนำไปปรับใช้กับตนเอง
- แต่งเรื่องสร้างสรรค์เพื่อใช้เป็นบทละครบทบาทสมมุติ
- นำเสนอละครบทบาทสมมุติ

ชิ้นงาน:
- แผนภาพโครงเรื่อง
- ประโยคสร้างสรรค์
- ละครบทบาทสมมุติ

ความรู้:
นักเรียนสามารถอ่านเรื่องราวร้อยแก้วได้ จับใจความสำคัญของเรื่อง และถ่ายทอดด้วยการเล่า การเขียน อธิบายให้คนอื่นฟังได้อย่างมีเหตุผล เข้าใจสามารถสิ่งที่ได้เรียนรู้จากวรรณกรรมมาถ่ายทดผ่านละครบทบาทสมมุติเพื่อใช้ในการสื่อสารหรือนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม สร้างสรรค์ มีมารยาทในการอ่าน การเขียน การฟัง การดู และการพูด  สามารถอ่านและฟังนิทาน เรื่องราวแล้วจับใจความสำคัญได้  รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ได้จากวรรณกรรมที่อ่านไปปรับใช้ในชีวิตได้
ทักษะ:
ทักษะชีวิต
การเลือกใช้เครื่องมือในการการคิดวิเคราะห์ข้อมูล สร้างสรรค์ชิ้นงานได้อย่างคุ้มค่า และเหมาะสม
ทักษะการคิด
การคิดเชื่อมโยงเรื่องที่อ่านกับชีวิตประจำวันของตนเองได้
การคิดวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่บัตรคำศัพท์และเชื่อมโยงมาปรับใช้ในงานเขียนของตนเองได้

ทักษะการสื่อสาร
อธิบายเกี่ยวกับความหมายของประโยคความเดียว ความรวม
และอ่านจับใจความสำคัญเรื่องที่อ่านแล้วถ่ายทอดด้วยการเล่า เขียนสรุป บันทึก ให้คนอื่นรับทราบได้
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการรวบรวมข้อมูลและการวางแผนทำชิ้นงานสอดคล้องของเนื้อหาและ กิจกรรมที่ได้เรียนรู้
- มีความกระตือรือร้นและลงมือทำสิ่งที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเองจนสำเร็จ
-ทำงานร่วมกับผู้อื่นรู้บทบาทหน้าที่ของตนเองเคารพ รับฟังความคิดเห็น
คุณลักษณะ:
เคารพ สิทธิ หน้าที่ เห็นคุณค่าและเชื่อมโยงความคิดเห็นของตนเองและผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ
มีความรับผิดชอบ กระตือรือร้นในการทำงาน
คิดสร้างสรรค์ชิ้นงาน
สังเคราะห์ข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่ตนเองรับรู้ได้
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างไม่มีอ

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน


















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เรามีกิจกรรมเพิ่มเติมจากแผนที่วางไว้ เมื่อนักเรียนอ่านวรรณกรรมและแลกเปลี่ยนกันแล้วนักเรียนช่วยกันสรุปและแลกเปลี่ยนเนื้อหา สาระสำคัญและสิ่งที่ได้เรียนรู้จากเรื่องที่อ่าน พี่ๆแสดงความสาคิดเห็นหลากหลายเช่น ถ้าผลิใบกินอาหารไข่ของผลิใบก็จะไม่แตก ผลิใบอยากมีลูกเป็นของตนเองผลิใบจึงเสียใจ เพราะผลิใบไม่รู้ความจริงว่าไข่ของตนเองไม่มีทางฟักได้เพราะเป็นไก่พันธุ์ไข่ ผลิใบอยากเป็นอิสระ ถ้าเราเป็นผลิใบเราก็จะรู้สึกเสียใจเหมือนกัน หลังจากอ่านวรรณกรรมแล้วพี่ๆได้เขียนประสมคำจากคำศัพท์ในเรื่องที่อ่านเป็นคำใหม่ แล้วนำคำเหล่านั้นมาใช้ในการแสดงละครบทบาทสมมุติ พี่ๆเลือกกลุ่มโดยการจับฉลากและทุกคนสามารถเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่มรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนๆระหว่างการเรียนรู้และการเตรียมนำเสนอ มีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมเป็นผู้แสดงและผู้ชมที่ดี ท้ายสัปดาห์พี่ๆได้เรียนรู้และแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการประสมคำ เพื่อการสื่อความที่แตกต่างและหลากหลาย รวมทั้งแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการนำไปใช้อย่างเหมาะสมด้วย

    ตอบลบ